ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส
ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส

ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส

ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส (ดัตช์: Heike Kamerlingh Onnes; 21 กันยายน ค.ศ. 185321 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926) เป็นนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ เกิดที่เมืองโกรนิงเงิน เป็นบุตรของฮาร์ม กาเมอร์ลิง โอนเนิส และอันนา แกร์ดีนา กูร์ส[2] มีน้องชายและน้องสาวชื่อแม็นโซและแจ็นนีตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1870 กาเมอร์ลิง โอนเนิสเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินและเรียนกับโรแบร์ท บุนเซิน และกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟที่มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์กระหว่างปี ค.ศ. 1871–1873 ต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโครนิงเงินและเป็นผู้ช่วยโยฮันเนิส โบสส์คา ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างแด็ลฟต์[3] (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแด็ลฟต์)ระหว่างปี ค.ศ. 1882–1923 กาเมอร์ลิง โอนเนิสดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทดลองที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 เขาก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านไครโอจีนิกส์และเชิญนักวิจัยหลายท่านมาร่วมงาน ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 กาเมอร์ลิง โอนเนิสประสบความสำเร็จในการสร้างฮีเลียมเหลวจากการศึกษาวัฏจักรแฮมป์สัน–ลินด์และปรากฏการณ์จูล–ทอมสัน เขาสามารถลดอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดของฮีเลียม (−269 °ซ, 4.2 เคลวิน) และเมื่อลดความดันของฮีเลียมเหลว กาเมอร์ลิง โอนเนิสสามารถลดอุณหภูมิได้เกือบถึง 1.5 เคลวิน (-271.65 °ซ) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในโลกในขณะนั้น ปัจจุบันอุปกรณ์ที่โอนเนิสใช้สร้างฮีเลียมเหลวเป็นครั้งแรกอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บูร์ฮาเฟอที่เมืองไลเดิน[2]ต่อมาในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1911 กาเมอร์ลิง โอนเนิสพบว่าที่อุณหภูมิ 4.2 เคลวิน (-268.95 °ซ) ความต้านทานไฟฟ้าในสายปรอทในฮีเลียมเหลวมีค่าเป็นศูนย์ เขาจึงตระหนักว่าความต้านทานไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิต่ำลง[4] และตีพิมพ์งานวิจัยหลายชิ้นโดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "สภาพนำยวดยิ่ง" (superconductivity) ในปี ค.ศ. 1913 กาเมอร์ลิง โอนเนิสได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการศึกษาคุณสมบัติของสารที่อุณหภูมิต่ำและการสร้างฮีเลียมเหลว[5]ด้านชีวิตส่วนตัว กาเมอร์ลิง โอนเนิสแต่งงานกับมารียา อาดรียานา วิลเฮลมีนา เอลีซาเบต ไบเลอเฟลด์ในปี ค.ศ. 1887 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 1 คน[6] กาเมอร์ลิง โอนเนิสเสียชีวิตที่เมืองไลเดินในปี ค.ศ. 1926 ต่อมาชื่อเขาได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อแอ่งดวงจันทร์[7]

ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส

ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ก
มหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน
สถาบันที่ทำงาน มหาวิทยาลัยไลเดิน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแด็ลฟต์
อาจารย์ที่ปรึกษา โรแบร์ท บุนเซิน
กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์
โยฮันเนิส โบสส์คา
งานที่เป็นที่รู้จัก
เกิด ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส
21 กันยายน ค.ศ. 1853(1853-09-21)
โกรนิงเงิน เนเธอร์แลนด์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
รางวัลที่ได้รับ
เสียชีวิต 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926 (72 ปี)
ไลเดิน เนเธอร์แลนด์
สัญชาติ ดัตช์
สาขา ฟิสิกส์

ใกล้เคียง

ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส ไทเกอร์ วูดส์ ไฮเปอร์ ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ไฮเนอเกิน (บริษัท) ไฮเดอราบาด (ประเทศอินเดีย) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ (บล็อกยูนิโคด) ไทเกอร์แอร์ ไฮเปอร์ลิงก์ ไฮเปอร์เทนชัน (วารสาร)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส http://www.encyclopedia.com/people/science-and-tec... http://www.nndb.com/people/521/000099224/ http://biography.yourdictionary.com/heike-kamerlin... http://www.dwc.knaw.nl/wp-content/HSSN/2007-10-Van... http://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/ed079p697 //doi.org/10.1021%2Fed079p697 http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/lau... https://the-moon.wikispaces.com/Kamerlingh+Onnes https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2002JChEd..79..6... https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/la...